ชีวประวัติ ของ ราเอ็ล เฮียร์ช

ราเอ็ล เฮียร์ช เกิดเมื่อ 15 กันยายน 1870 ที่เมืองฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ เป็นหนึ่งในลูกสิบเอ็ดคนของ เมนเดิล เฮียร์ช [de] (1833–1900) ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีประจำชุมชนชาวยิวในฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ พ่อของเมนเดิลคือ ซัมโซน รัฟฟาเอล เฮียร์ช แรบไบคนสำคัญ

ระหว่างปี 1885 ถึง 1889 ราเอ็ล เฮียร์ช เข้าศึกษาที่วีสบาเดิน และทำงานเป็นครูจนถึงปี 1898 เนื่องในเวลานั้น ไรค์เยอรมันไม่อนุญาตให้สตรีศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ เธอจึงออกเดินทางไปศึกษาต่อแพทยศาสตร์ที่ซือริช ในปี 1899 เธอเดินทางมาศึกษาต่อที่ไลป์ซีก และสตราส์บูร์ก จนจบการศึกษาวุฒิแพทยศาสตร์ในปี 1903

ในปี 1906 เธอเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่สาธิตให้เห็นว่าอนุภาคของแข็งขนาดเล็กกว่า 0.1 มิลลิเมตรสามารถซึมผ่านไตและเข้าวู่ปัสสาวะได้ ก่อนหน้านี้เป็นที่เชื่อกันแค่ว่ามีเพียงของเหลวเท่านั้นที่ผ่านไตได้ เธอถูกเยาะเย้ยที่สภาผู้อำนวยการของชาริเตและงานค้นคว้าของเธอถูกปฏิเสธ กระทั่งปี 1957 เก. โฟล์คไฮเมอร์ (G. Volkheimer) ซึ่งประจำอยู่ที่ชาริเตมาพบผลงานของเธอและนำออกมาตีพิมพ์สู่สาธารณะ และตั้งชื่อให้ว่า "เฮียร์ชเอฟเฟคท์" (Hirsch Effekt)[2]

จากนั้นเธอได้ถูกจ้างทำงานประจำคลินิกแพทย์ระจำมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ที่ชาริเต เป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (intern) เธอถือเป็นสตรีคนที่สองที่ชาริเตจ้าง และทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับศาสตราจารย์ด้านสรีรวิทยา ฟรีดริค เคราเซอ (Friedrich Krause)[3] และต่อมาได้ทำงานร่วมดับศัลยแพทย์ เอิร์นสท์ ฟอน แบร์คมันน์ (Ernst von Bergmann) และนักกายวิภาคศาสตร์ วิลเฮล์ม ฟอน วัลเดเยร์-ฮาร์ทซ์ (Wilhelm von Waldeyer-Hartz)[2]

ในปี 1908 เฮียร์ชได้รับการแต่งตั้งเป๋นหัวหน้าพอลีคลินิกประจำคลินิกแพทย์ของชาริเต กระนั้นเธอไม่เคยได้รับว่าจ้างเป็นพนักงานเงินเดือน หลังถูกแทนที่ตำแหน่ง เธอออกจากชาริเตและเปิดคลินิกอายุรกรรมของตนเองในเบอร์ลิน[3] ที่คลินิกเอกชนของเธอ เธอมีอุปกรณ์รังสีเอ็กซ์รวมถึงมีลูกค้าที่รำ่รวยซึ่งช่วยให้เธอสามารถใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย[2]

เฮียร์ชได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ในปี 1913 เป็นสตรีคนแรกในปรัสเซียที่ได้ตำแหน่งนี้[3] และในปี 1914 เธอตีพิมพ์ผลการศึกษาชื่อ “อุบัติเหตุและอายุรกรรม” [3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ราเอ็ล เฮียร์ช https://query.nytimes.com/gst/abstract.html?res=9F... https://jwa.org/encyclopedia/article/hirsch-rahel https://gedenkort.charite.de/en/projects/people/ra... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Rahel_... http://jwa.org/encyclopedia/article/hirsch-rahel http://denkmaeler.charite.de/site/hirsch/denkmal/ https://www.wikidata.org/wiki/Q105722#identifiers http://id.worldcat.org/fast/423872/ https://isni.org/isni/0000000066747562 https://viaf.org/viaf/5754540